วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556


ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล็อกของ ปรียาพร ชนะนา นะค่ะ

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ --> นางสาวปรียาพร ชนะนา (ทราย)

ที่อยู่ปัจจุบัน --> 186/199 ถ.ริมน้ำ ต.เชิงเนิน อ.เมือง จ.ระยอง 21000.

น้ำหนัก/ส่วนสูง --> 48 กก. /158 ซม.
กรุ๊ปเลือด --> B
เชื้อชาติ --> ไทย
ศาสนา --> พุทธ
สถานภาพ --> โสด
E-mail -->nongsai_w8@hotmail.com
คติประจำใจ -->ลืมอดีตเสียบ้าง จะได้มีที่ว่าง..สำหรับวันพรุ่งนี้ :P

การศึกษา

2553 - 2555 --> ปวส. วิทยาลัยเทคนิคระยอง

สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

2549 - 2552 --> ปวช. วิทยาลัยเทคนิคระยอง

สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

2546-2548 --> มัธยม 1-3 โรงเรียนวัดตะพงนอก



ประวัติการทำงาน

4 ธันวาคม 2555 – ปัจจุบัน -->พนักงานธุรการ TBR บริษัทโตโยต้าวิชั่นระยอง

2 เมษายน - 5 ตุลาคม 2555 -->พนักงานคีย์ข้อมูล บริษัทเครือดับเบิ้ลเอ จ.ฉะเชิงเทรา



ตอบคำถามท้ายบทที่ 5

1. อาชญากรรมคอมพิวเตอร์คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

คือ การกระทำการใดๆเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์อันทำให้เหยื่อได้รับความเสียหายและผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือและในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกันการประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศจำนวนมหาศาล อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์จึงจัดเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ อาชญากรรมทางธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญ เช่น พวกเด็กหัดใหม่ (Novice)

พวกวิกลจริต (Deranged persons) อาชญากรที่รวมกลุ่มกระทำผิด (Organized crime)

อาชญากรอาชีพ (Career) พวกหัวพัฒนา มีความก้าวหน้า(Con artists) พวกคลั่งลัทธิ(Dremer) / พวกช่างคิดช่างฝัน(Ideologues) ผู้ที่มีความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์อย่างดี (Hacker/Cracker )

2. จงอธิบายความหมายของ

Hacker หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ เป็นอย่างมาก จนถึงระดับที่สามารถถอดหรือเจาะรหัสระบบรักษาความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคนอื่นได้ โดยมีวัตถุประสงค์ในการทดสอบขีดความสามารถของตนเอง หรือทำในหน้าที่การงานของตนเอง เช่น มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบรักษาความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ของเครือข่าย หรือองค์กร แล้วทำเพื่อทดสอบประสิทธิภาพ

Cracker มีความหมายอย่างเดียวกันกับ Hacker แต่ต่างกันตรงที่วัตถุประสงค์ในการกระทำ จุดมุ่งหมายของ Cracker คือ บุกรุกระบบคอมพิวเตอร์คนอื่นโดยผิดกฎหมายเพื่อทำลายหรือเอาข้อมูลไปใช้ส่วนตัว แต่โดยทั่วไปแล้วมักเข้าใจกันว่าเป็นพวกเดียวกันนั่นเอง คือมองว่ามีเจตนาไม่ดีทั้งคู่ ทั้งที่จริง

สแปม (Spam) คือ การส่งE-mailที่มีข้อความโฆษณาไปให้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้รับ การสแปมส่วนใหญ่ทำเพื่อการโฆษณาเชิงพาณิชย์ มักจะเป็นสินค้าที่น่าสงสัย หรือการเสนองานที่ทำให้รายได้อย่างรวดเร็ว หรือบริการที่ก้ำกึ่งผิดกฎหมาย ผู้ส่งจะเสียค่าใช้จ่ายในการส่งไม่มากนัก แต่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะตกอยู่กับผู้รับE-mailนั้น

ม้าโทรจัน คือ โปรแกรมที่ถูกโหลดเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อ ปฏิบัติการ "ล้วงความลับ"เช่น รหัสผ่าน, User Name และข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับการ Login ระบบ ที่ถูกพิมพ์ผ่านคีย์บอร์ดโดยผู้ใช้งาน โดยส่วนใหญ่แฮคเกอร์ จะส่งโปรแกรมม้าโทรจัน เข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ หรือเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์

สปายแวร์ คือ โปรแกรมเล็ก ๆ ที่ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง (สปาย) การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ อาจจะเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ สปายแวร์บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ทไม่ได้เลย ไม่ว่าจะไปเว็บไหน ก็จะโชว์หน้าต่างโฆษณา หรืออาจจะเป็นเว็บประเภทลามกอนาจาร พร้อมกับป๊อปอัพหน้าต่างเป็นสิบ ๆ หน้าต่าง

3. จงยกตัวอย่างกฎหมาย ICT หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้า จงอธิบายถึงการกระทำผิดและบทลงโทษ มา 5ตัวอย่าง

- พฤติกรรม: ใช้ user name/password ของผู้อื่น Log in เข้าสู่ระบบ
ฐานความผิด: มาตรา 5 ปรับไม่เกิน 10,000.- จำคุกไม่เกิน 6 เดือน
- พฤติกรรม: Forward email ที่มีข้อความ เนื้อหา หรือรูปภาพที่ไม่เหมาะสม เป็นเท็จ กระทบความมั่นคง

ฐานความผิด: มาตรา 14 ปรับไม่เกิน 100,000.- จำคุกไม่เกิน 5 ปี
- พฤติกรรม: โพสข้อความตามกระทู้ต่างๆ ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม เป็นเท็จ กระทบความมั่นคง หรือลามกอนาจาร
ฐานความผิด: มาตรา 14 ปรับไม่เกิน 100,000.- จำคุกไม่เกิน 5 ปี

- พฤติกรรม: เผยแพร่ภาพตัดต่อให้ผู้อื่นได้รับความเสื่อมเสีย หรืออับอาย
ฐานความผิด: มาตรา 16 ปรับไม่เกิน 60,000จำคุกไม่เกิน 3 ปี

- พฤติกรรม : นักล้วง พวกที่ชอบดักข้อมูลที่เป็นส่วนตัว ซึ่งส่งถึงกันทางอินเตอร์เน็ต ทาง e-mail มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท

ตอบคำถามท้ายบทที่ 4

1. สื่อกลางประเภทมีสายแต่ละประเภท มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ

สื่อกลางประเภทมีสาย เช่น สายโทรศัพท์ เคเบิลใยแก้วนาแสง เป็นต้น สื่อที่จัดอยู่ในการสื่อสารแบบมีสายที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ - สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน(Unshield Twisted Pair)

- สายทองแดงแบบหุ้มฉนวน(Shield Twisted Pair)

- สายโคแอคเชียล(Coaxial)

- ใยแก้วนำแสง(Optic Fiber)

ข้อดี : ป้องกันสัญญาณรบกวน, มีความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำ, ใช้งานในการ เชื่อมต่อระยะทางใกล้ๆ, มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล10/100Mbps

ข้อเสีย : ไม่สามารถใช้รับ-ส่งสัญญาณได้เกิน 185 เมตร,มีความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำ

2. การนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กร มีประโยชน์อย่างไร

ประโยชน์การนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กร คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเครือข่ายจะมีการทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม ที่เรียกว่า กลุ่มงาน (workgroup)แต่เมื่อเชื่อมโยงหลายๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกัน ก็จะเป็นเครือข่ายขององค์กร และถ้าเชื่อมโยงระหว่างองค์กรผ่านเครือข่ายแวน ก็จะได้เครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้น การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวางและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งนี้เพราะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกัน

การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง

การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Serverผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศ จากฐานข้อมูลกลาง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร ์ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเอง เพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง เครื่องลูก (Client)สามารถเข้ามาใช้ โปรแกรม ข้อมูล ร่วมกันได้จากเครื่องแม่ (Server)หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรม ไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่องของตนเอง

3. หากนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กร นักศึกษาจะเลือกรูปแบบของระบบเครือข่าย (LAN Topology) แบบใดเพราะอะไร

เลือกรูปแบบการเชื่อมต่อแบบดาว(Star) เพราะเป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาณที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายังHUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป ซึ่งมีข้อดีคือ การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย

4. อินเทอร์เน็ตมีข้อดีต่อระบบการศึกษาไทยอย่างไร

ข้อดีต่อระบบการศึกษาไทย คือ

1. การใช้เป็นระบบสื่อสารส่วนบุคคล บนอินเตอร์เน็ตมีอิเล็กทรอนิกส์เมล์หรือเรียกย่อๆ ว่า อีเมล์ (E-mail) เป็นระบบที่ทำให้การสื่อสารระหว่างกันเกิดขึ้นได้ง่าย แต่ละบุคคลจะมีตู้จดหมายเป็นของตัวเองสามารถส่งข้อความถึงกันผ่านในระบบนี้โดยส่งไปยังตู้จดหมายของกันและกันนอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ไปใช้ทางการศึกษาได้
2. ระบบข่าวสารบนอินเตอร์เน็ต มีลักษณะเหมือนกระดานข่าวที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ทุกคนสามารถเปิดกระดานข่าวที่ตนเองสนใจหรือสามารถส่งข่าวสารผ่านกลุ่มข่าวบนกระดานนี้เพื่อโต้ตอบข่าวสารกันได้
3. การใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลข่าวสารต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตมีแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกัน และติดต่อกับห้องสมุดทั่วโลกทำให้การค้นหาข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพหมายถึงสามารถค้นหาและได้มาซึ่งข้อมูลโดยใช้เวลาอันสั้นโดยเฉพาะบนอินเตอร์เน็ตจะมีคำหลัก (Index)ไว้ให้สำหรับการสืบค้นที่รวดเร็ว
4. ฐานข้อมูลเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Wed) เป็นฐานข้อมูลแบบเอกสาร (Hypertext) และแบบมีรูปภาพ (Hypermedia)จนมาปัจจุบัน ฐานข้อมูลเหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นจนเป็นแบบมัลติมีเดีย(Multimedia)ซึ่งมีทั้งข้อความ รูปภาพ วีดิทัศน์ และเสียงผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสืบค้นกันได้จากที่ต่างๆ ทั่วโลก
5. การพูดคุยแบบโต้ตอบหรือคุยเป็นกลุ่ม บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อกันและพูดคุยกันได้ด้วยเวลาจริง ผู้พูดสามารถพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนเครือข่าย
6. การส่งถ่ายข้อมูลระหว่างกันแบบ FTP (Files Transfer Protocol) คือสามารถที่จะโอนย้ายถ่ายเทข้อมูลระหว่างกันเป็นจำนวนมากๆ ได้ โดยส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งทำให้สะดวกต่อการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกันโดยไม่ต้องเดินทางและข่าวสารถึงผู้รับได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
7. การใช้ทรัพยากรที่ห่างไกลกัน ผู้เรียนอาจเรียนอยู่ที่บ้านและเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นทรัพยากรการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยได้ และยังสามารถขอใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ในต่างมาวิทยาลัยได้ อินเตอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น

ตอบคำถามท้ายบทที่ 3

1.ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง

1). ขั้นเตรียมข้อมูล เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อให้สะดวกต่อการประมวลผล

ซึ่งมี 4 วิธี การลงรหัส การตรวจสอบ การจำแนก และ การบันทึกข้อมูลลงสื่อ

2). ขั้นตอนการประมวลผล คือ เป็นการนาเอาโปรแกรมที่เขียนขึ้น มาใช้เพื่อประมวลผลข้อมูลที่ได้เตรียมไว้และข้อมูลยังคงเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตสารสนเทศต่างๆ เช่น การคำนวณ การเรียงลำดับข้อมูล การสรุป และ การเปรียบเทียบ

3). ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ อาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร รายงาน การนาเสนอบนจอภาพ โดยการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

2.จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ

1). บิต (Bit) คือ หน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล เลขฐาน 2 คือ 0,1

2). ไบต์(Byte) คือ การนาบิตมารวมกันเรียกว่า ตัวอักขระ,ตัวอักษร

3). ฟิลด์(Field) คือ การนาไบต์หลาย ๆ ไปมารวมกัน เรียกว่า เขตข้อมูล

4). เรคอร์ด (Record) คือ การนาฟิลด์หลาย ๆ ฟิลด์มารวมกัน เรียกว่า ระเบียน

5). ไฟล์(File) คือ การเรคอร์ดหลาย ๆ เรคอร์ดมารวมกัน เรียกว่า แฟ้มข้อมูล

6). ฐานข้อมูล (Database) คือ การนาไฟล์หลาย ๆ ไฟล์มารวมกัน เรียกว่า ฐานข้อมูล

3.หากนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในหน่วยงานที่นักศึกษาทางานอยู่ สามารถมีระบบใดบ้าง และระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร

1. แบบจำลองฐานข้อมูลลำดับชั้น (Hierarchical Database Model) เป็นฐานข้อมูลที่มีความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่งหรือหนึ่งต่อกลุ่ม (ไม่มีแบบกลุ่มต่อกลุ่ม โครงสร้างฐานข้อมูล = โครงสร้างแบบต้นไม้(Tree Structure) มีลักษณะสำคัญคือระเบียนที่อยู่แถวบนจะเป็นระเบียนพนักงานขาย

(parent record) ระเบียนในแถวถัดมาเป็นระเบียนลูกค้า (child record) ไฟล์ในระดับสูงสุดจะเรียกว่า root และในระดับล่างสุดจะเรียกว่า leaves มีโครงสร้างซับซ้อนน้อยที่สุด เหมาะกับข้อมูลที่มีการเรียงลำดับอย่างต่อเนื่อง

2 แบบจำลองฐานข้อมูลเครือข่าย (Network DatabaseModel) เป็นฐานข้อมูลที่มีความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นแบบใดก็ได้ ได้แก่ แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (1:1),แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1:M) และแบบกลุ่มต่อกลุ่ม (M:M / M:N / N:N) สามารถเชื่อมโยงข้อมูลแบบไป-กลับได้ มีความยืดหยุ่นในด้านของการค้นหาข้อมูลดีกว่า โดยจะใช้พอยน์เตอร์ในการเข้าถึงข้อมูลได้ทันที สามารถเข้าถึงเรคอร์ดได้โดยตรง ทาให้การป้องกันความปลอดภัยข้อมูลมีน้อย

3. แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational DatabaseModel) เป็นฐานข้อมูลที่มีการเก็บข้อมูลในรูปของรีเลชัน (ตาราง)ซึ่งนาเสนอในรูปแบบของตาราง 2 มิติ คือ ภายในจะแบ่งเป็นAttribute (คอลัมน์, เขตข้อมูล หรือฟิลด์) และtuple (แถว, ระเบียน หรือเรคคอร์ด) มีความสัมพันธ์กับตารางอื่นได้ ทั้ง แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (1:1), แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1:M) และแบบกลุ่มต่อกลุ่ม (M:M / M:N / N:N) ใช้คีย์ (key)ในการอ้างอิงถึงตารางอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

4. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม์

การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing) รวบรวมข้อมูล และแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่ม ๆ แล้วจึงส่งเครื่องคอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลครั้งเดียว จะไม่มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนวิธีการประมวลผลแบบเวลาจริง ( Real Time Processing ) การประมวลผลที่เมื่อทาการส่งข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์แล้วจะได้ผลลัพธ์ออกมาทันที แสดงผลข้อมูลทันทีทันใด โดยแสดงผลทาง Output เช่น การใช้บริการบัตรเครดิตตามห้างร้านต่าง ๆ

ตอบคำถามท้ายบทที่ 2

1. จงอธิบายความหมาย พร้อมยกตัวอย่างของคำดังต่อไปนี้

· Hardware หมายถึง ส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบขึ้นมาใช้งานได้ ซึ่งสามารถแบ่งส่วนประกอบได้ 3 ส่วน คือ

1) อุปกรณ์รับข้อมูล เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์ แทร็กบอล จอยสติกส์

2) อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล

3) อุปกรณ์แสดงผล เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ ลำโพง เป็นต้น

· Software หมายถึง ส่วนของโปรแกรมหรือชุดคำสั่งเพื่อที่จะสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวอาจจะเขียนอยู่ในรูปของภาษาเครื่องที่จะทำให้เครื่องเข้าใจและทำงานได้โดยตรง แบ่งออกเป็น ซอฟต์แวร์ประยุกต์กับซอฟต์แวร์ระบบ

· Peopleware หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ คือ

1) ผู้จัดการระบบ คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน

2) นักวิเคราะห์ระบบ คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน

3) โปรแกรมเมอร์ คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้

4) ผู้ใช้ คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ

· Data หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสาระต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน หรือที่ได้จากหน่วยงานอื่นๆ ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจได้ทันที จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว

· Information หมายถึง สิ่งที่ได้จากการประมวลผลของข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการวางแผน การพัฒนา การควบคุม และการตัดสินใจสารสนเทศที่ดีจะต้องมีความถูกต้อง สมบูรณ์ น่าเชื่อถือ มีความทันสมัย โดยมีรูปแบบการนำเสนอที่สวยงาม ชัดเจน น่าสนใจและเข้าใจได้ง่าย



2. หากนักศึกษาเป็นเจ้าของธุรกิจ ดังต่อไปนี้ (เลือก 1 ธุรกิจ) จะนำองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้แก่ Hardware, Software และPeopleware ใดมาใช้ในธุรกิจบ้าง เพราะเหตุใดจงอธิบาย

โรงเรียนกวดวิชา เพราะจะได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนให้กับนักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจได้มีความรู้และทันเทคโนโลยีตลอดเวลา โดยจะนำองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์คือ Hardware มาใช้เป็นอุปกรณ์รับเข้าข้อมูล ประมวลผลข้อมูล และแสดงผลข้อมูล เช่น เมาส์ คีย์บอร์ด และเครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น

Software นำใช้เป็นชุดคำสั่งเพื่อที่จะสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน และเพิ่มโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการศึกษาเข้าไปด้วย

Peopleware คือนักศึกษา และผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาที่โรงเรียนกวดวิชาทุกคน



3. ให้นักศึกษา แสดงข้อมูล จำนวน 1 ชุด พร้อมทั้งแสดงในรูปแบบของระบบสารสนเทศ


ตอบคำถามท้ายบทที่ 1


1. จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน


- เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ด้านอื่นๆที่ได้จัดระเบียบดีแล้วมาประยุกต์ใช้ในด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้งานนั้นมีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เช่น การจัดการระบบงานการผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุการเงิน เป็นต้น


- สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียง เพื่อใช้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้


- เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับการประมวลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยในการสื่อสาร และการส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้สะดวงรวดเร็วขึ้น


- ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ ปรากฏการณ์ คน สิ่งของ ฯลฯ ที่เราสนใจบันทึกเก็บไว้ใช้งาน


- ฐานความรู้ หมายถึง สารสนเทศที่ได้จัดเป็นโครงสร้างความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและต้องมีคุณค่าเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานต่างๆได้


2. โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง


- ระดับล่างสุด เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซึ่งเรียกว่าระบบ การประมวลผลรายการ


- ระดับที่สอง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนการตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการดำเนินงาน


- ระดับที่สาม เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้นตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการจัดการ


- ระดับที่สี่ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับสูง สำหรับใช้ในงานวางแผนระยะยาว ซึ่งเรียกว่าการวางแผนกลยุทธ์


3. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง


- ยุคการประมวลผลข้อมูล เป็นยุคแรกๆของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ วัตถุประสงค์ช่วงนั้นคือ เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลประจำวันเพื่อลดค่าใช้จ่ายและบุคลากรลง


- ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นยุคที่มีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในงานด้านการตัดสินใจ ดำเนินการควบคุมติดตามผล ตลอดจนวิเคราะห์งานของผู้บริหาร


- ระบบจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เป็นการเรียกใช้สารสนเทศ เพื่อที่จะช่วยในการตัดสินใจในการนำองค์กรหรือหน่วยงานไปสู่เป้าหมายอันเป็นความสำเร็จ


- ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญอย่างรวดเร็ว ทำให้มีทางเลือกและเกิดรูปแบบใหม่ๆ ของสินค้าและบริการ รวมเรียกว่าเป็นที่มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นของการให้บริการสารสนเทศ